z35W7z4v9z8w

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รวมบทความน่าอ่าน ภัยเงียบจากโรคกระดูกพรุน

รวมบทความน่าอ่านวันนี้ขอเสนอภัยเงียบจากโรคกระดูกพรุน

          ที่มาภาพ:โรคกระดูกพรุน
                    
1ใน  3   ของผู้หญิงเป็นโรคกระดูกพรุน
1ใน  12 ของผู้ชายเป็นโรคกระดูกพรุ่น
              ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับโรคกระดูกพรุน รวมไปถึงวิธีการรักษาและป้องกัน เพื่อสุขที่ดีในวันนี้และวันต่อๆไป
              เริ่มกันที่่ที่มาของโรคก่อน เคยมีผู้เปรียบเทียบเรื่องแคลเซียมให้เข้าใจอย่างง่ายๆว่า "ระดับแคลเซียมที่ปกติ" ก็คือ "จำนวนเงินที่ติดกระเป๋า"สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน โดยแคลเซียมส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ และส่วนที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูกนั้นคือ "ค่าใช้จ่ายในประจำวัน" "แคลเซียมในกระดูก" เสมือนเงินฝากในธนาคาร และแคลเซียมที่ดีรับจากอาหารแต่ละวันนั้น เสมือนรายได้ประจำวันซึ่งหากรายรับมากกว่่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคารซึ่งเปรียบเสมือนการสะสมแคลเซียมในกระดูกแต่ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายทำให้เกิดการขาดดุล
                ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอซึ่งก็เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจึงต้องละลายแคลเซียมจากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือดทำให้แคลเซียมในกระดูกค่อยๆลดลงและนี่คือสาเหตุหนึ่งของโรคกระดูกพรุน
                ผู้ที่ป่วยเป็นโครกระดูกพรุนจะเกิดการสูญเสียเนื้อกระดูกโครงสร้างรังผึ้งภายในเสื่อสลายกระดูกจึงเปราะบางเป็นรูพรุนและเกิดการหักง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทกหรือเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะที่กระดูกสันหลังสะโพกและข้อมือ
                นอกจากนี้โรคกระดูกพรุนยังจะส่งผลทำลายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้พบว่า 20% ของผู้กระดูกสะโพกหักจะเกิดโรคแทรกซ้อนและเสียชีวิตภายในหนึ่งปี และ 50% ของผู้ป่วยไม่สามารถกลับมาเคลื่อไหวได้ดังเดิม
                แล้วด้วยความที่โรคนี้จะดำเนินไปอย่างเงียบๆโดยไม่มีอาการแสดงให้เห็นจนกว่ากระดูกจะหักแล้วผู้ป่ายถึงจะรู้ตัว หลายคนจึงขนานนามให้กับโรคนี้ว่า "ภัยเงียบ"
                แต่โรคกระดูกพรุนก็สามารถป้องกันได้โดย
                - กินแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน
                - ออกกำลังกายชนิดที่มีน้ำหนักกดลงบนกระดูกเป็นประจำ อาทิ การเดิน วิ่ง หรือเต้นแอโรบิก
                - หลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม
                - งดสูบบุหรี่

บทความน่าอ่าน
ที่มาข้อมูล:หนังสือสุขภาพทราบก่อนป่วย ผู้แต่ ดุสิตา สำนักพิมพ์ไพลิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทีวีออนไลน์

ชอบกด Like ใช่กด Share