z35W7z4v9z8w

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โรคเส้นเลือดขอด

รวมบทความน่าอ่านขอเสนอ..."โรคเส้นเลือดขอด"
หลอดเลือดขอด (Varicose Veins) เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดดำ ส่วนใหญ่หมายถึงความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณขาซึ่งเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดดำที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาจากแพทย์
          ในหลอดเลือดดำที่ขา เลือดจะถูกลำเลียงกลังไปยังหัวใจภายใต้ความดันประมาณ 20 มิลลิเมตรปรอท โดยที่เลือดในกล้ามเนื้อขาจะเข้าไปในหลอดเลือดดำส่วนลึก ส่วนเลือดจากผิวหนังและเนื้อเยื่อที่อยู่รอบนอกจะไหลไปตามหลอดเลือดดำ เมื่อมีความผิดปกติของการรวมกันของหลอดเลือดดำที่ตำแหน่งนี้จะทำให้เลือดย้อนลงตามหลอดเลือดดำส่วนตื้น ทำให้มีการโป่งขยายของหลอดเลือดดำส่วนปลายที่เรียวกว่า "ภาวะหลอดเลือดขอด"

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดขอด ได้แก่
          1.อายุที่มากขึ้น จะพบหลอดเลือดขอดได้มากขึ้นกว่า 70% ของคนอายุ 70 ปีขึ้นไปจะพบหลอดเลือดขอด
          2.ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวมีโอกาสเกิดหลอดเลือดขอดเพื่มขึ้นเป็น 2 เท่า
          3.หลอดเลือดขอดพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
          4.บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยให้ประวัติว่ามีหลอดเลือดขอดเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นผลจากการที่มี
ระดับของฮอร์โมนสูงขึ้น
          5.กลุ่มอาชีพที่ต้องยืนหรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหลอดเลือดขอด
          6.หลอดเลือดขอดพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักตัวสูงเกินค่ามาตรฐาน
          7.หลอดเลือดขอดพบได้ 12% ของประชากรในประเทศตะวันตกส่วนอุบัติการณ์ในประเทศทางตะวันออกจะต่ำกว่า ทั้งนี้อาจมีส่วนสัมพันธ์กับอาหารที่กิน

          ส่วนกลไกที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดหลอดเลือดขอดยังไม่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่าน่าจะเป็นความผิดปกติของผนังหลอดเลือดดำหรือวาลว์ปิด-เปิดในหลอดเลือดดำเสียไป

อาการของภาวะหลอดเลือดขอด
          ผู้ป่วยจำนวนมากมาพบแพทย์ เนื่องจากลักษณะที่แลเห็นจากภายนอกมองดูไม่สวยงาม เนื่องจากมีการขอดตัวของหลอดเลือดดำส่วนตื้น โดยจะมีขนาดประมาณ 3-15 ม.ม. มักเริ่มเป็นที่น่องโดยที่ไม่มีอาการใดๆ ในรายที่เป็นมาก อาจมีอาการปวดล้า หรือรู้สึกเมื่อยที่ขาหลังจากยืนนานๆ มักมีอาการมากขึ้นในตอนบ่ายหรือเย็น ผู้ป่วยจะรู้สึกดีเมื่อได้นอนราบและยกขาขึ้นสูง
          หลอดเลือดขอดที่เป็นอยู่นาน อาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาโดยมากจะเป็นการอักเสบของตัวหลอดเลือดขอดเอง หรือบางคร้ังเกิดการอุดตัน แต่พบได้น้อยมาก และปัญหาเลือดออกมากหลังได้รับอุบัติเหตุที่หลอดเลือดขอดขนาดใหญ่อยู่ใต้ผิวหนังที่ค่อนข้างบาง ซึ่งอาจทำให้เสียเลือดในปริมาณมาก  แต่สามารถแก้ไขได้ง่าย  โดยให้ผู้ป่วยนอนยกขาสูงและพันด้วยผ้ายืดซึ่งจะช่วยหยุดเลือดได้

การรักษาโรคหลอดเลือดขอด
          ทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การให้คำแนะนำ การใช้ถุงน่องทางการแพทย์หรือการพันผ้ายือ การฉีดยาเข้าหลอดเลือดขอด หรือการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวหลอดเลือดขอดและอาการของผู้ป่วย แต่เบื้องต้น คุณควรหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งประจำที่อยู่นานๆ ควบคุมน้ำหนักตัว และหมั่นออกกำลังกายด้วยการเดิน เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบน่อง ซึ่งจะทำให้อาการของหลอดเลือดขอดลดลง

"รวมบทความน่าอ่าน"

ที่มาข้อมูล:หนังสือสุขภาพทราบก่อนป่วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทีวีออนไลน์

ชอบกด Like ใช่กด Share